SDGs3 สถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ

SDGS3
SDGS3
SDGS3
SDGS3

สนับสนุนงบประมาณในรูปแบบทุนอุดหนุนการวิจัยประเภทบุคคล

การสนับสนุนประมาณในรูปแบบทุนอุดหนุนการวิจัยประเภทบุคคลให้คณาจาย์ในการพัฒนางานวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดโครงการวิจัยที่สนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับ
ชุมชม ประกอบด้วย

  1. โครงการวิจัย เรื่อง ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงาน ภาวะสุขภาพเนื่องจากการทำงานของพนักงานผลิตอิฐก่อสร้าง จังหวัดนครศรีธรรมราช หัวหน้าโครงการ ผศ.ธนวรรณ สงประเสริฐ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หัวหน้าโครง
  2. โครงการวิจัย เรื่อง พฤติกรรมการดูแลเท้าและสุขภาพเท้าขการ อ.กรรณิการ์ ศรีสมทรง สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์
  3. โครงการวิจัย เรื่อง การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อพยาธิปากขอในเด็ก หัวหน้าโคงการ รศ.ดร.ชูชาติ พันธ์สวัสดิ์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์
  4. โครงการวิจัย เรื่อง การศึกษาการใช้พืชสมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หัวหน้าโครงการ อ.ดร.พิสิษฐ์ พวยฟุ้ง สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์
  5. โครงการวิจัย เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในการจัดการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่ชนบท จังหวัดนครศรีธรรมราช หัวหน้าโครงการ อ.ปาลีรัตน์ วงศ์ฤทธิ์ สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์
  6. โครงการวิจัย เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโภชนาการและความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกในผู้ป่วยเด็ก ในจังหวัดนครศรีธรรมราช: การศึกษาย้อนหลัง หัวหน้าโครงการ อ.ดร.สรัญญา มณีรัตนาศักดิ์ สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์
  7. โครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไลเปสของสมุนไพรไทย เพื่อการพัฒนาตำรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพรเพื่อใช้ป้องกันการเกิดภาวะอ้วน หัวหน้าโครงการ อ.ดร.ฉวีวรรณ คล่องศิริเวช สำนักวิชาสหเวชศาสตร์

MOU การพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนแบบสหสถาบันระหว่างสถาบันภาคีและ วช.

วันที่ 11 พฤษภาคม 2561 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์ คุ้มฮิ้น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ ในนามของสำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนแบบสหสถาบันระหว่างสถาบันภาคีและ วช. โดย พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี

สถาบันภาคีทั้งหมด 40 สถาบัน ประกอบด้วย 1) โรงพยาบาลรัฐและเอกชน เช่น ร.พ.ตำรวจ ร.พ.กรุงเทพ และ ร.พ.บำรุงราษฎร์ 2) หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข เช่น กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ และกรมควบคุมโรค 3) มหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน เช่น NIDA จุฬาฯ ธรรมศาสตร์  มศว. มหิดล รังสิต ฯลฯ โดยสาระสำคัญของความร่วมมือ คือ หากสถาบันภาคีใดต้องการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน วช. จะช่วยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดตั้ง และสามารถไปศึกษาดูงานที่สถาบันภาคีอื่นที่มีการจัดตั้งคณะกรรมการฯ แล้วได้ และอาจารย์/นักวิจัยของสถาบันภาคีสามารถส่งโครงการวิจัยเข้ารับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนโดยคณะกรรมการกลางพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน (Central Research Ethics Committees: CREC) ได้ (มีค่าธรรมเนียมซึ่งแตกต่างกันระหว่างโครงการวิจัยที่ได้รับทุนจากภาครัฐและโครงการวิจัยที่ได้รับทุนจากภาคเอกชน)

SDGs
SDG4
SDGs
SDGs
SDGS3
SDGS3
SDGS3
SDGS3