สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ และนักศึกษาสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ ชั้นปีที่ 5 เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการศูนย์ศึกษาชีวประสิทธิผลและชีวสมมูล ณ อาคารศูนย์วิจัยวิทยาการสุขภาพ

นักศึกษาเภสัชศาสตร์ เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการศูนย์ศึกษาชีวประสิทธิผลและชีวสมมูล สถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565 เวลา 13:00 น. ที่ผ่านมา ผศ.ดร.ชุติมา จันทรัตน์  รองคณบดีสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ และนักศึกษาสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ ชั้นปีที่ 5 เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการศูนย์ศึกษาชีวประสิทธิผลและชีวสมมูล ณ อาคารศูนย์วิจัยวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีนางณัฐวรรณ คู่มณี นักวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ เข้าร่วมต้อนรับนักศึกษาและแนะนำห้องปฏิบัติการ ให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการพัฒนาระบบคุณภาพทางห้องปฏิบัติการสู่มาตรฐานสากล Good Laboratory Practice (GLP)

การพัฒนาระบบคุณภาพทางห้องปฏิบัติการสู่มาตรฐานสากล Good Laboratory Practice (GLP) สิ่งนี้ต้องมีการสร้างและปฏิบัติตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ หลักการพื้นฐานของ GLP Good Laboratory Practices System ได้แก่ ด้านพนักงานในห้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการในการตรวจสอบและดูแลห้องปฏิบัติการ ให้เป็นไปตามหลักการของ GLP Good Laboratory Practices System เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ มีการจัดเก็บและการนำข้อมูลกลับมาใช้ใหม่มีการจัดวางอย่างเหมาะสม ขั้นตอนการปฏิบัติการมาตรฐาน เพื่อให้มั่นใจในความสมบูรณ์และคุณภาพของข้อมูลที่ผลิตจากการทดสอบมีการเตรียมกระบวนการที่เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งได้รับการอนุมัติจากผู้จัดการห้องปฏิบัติการ การจัดเก็บข้อมูลและวัสดุ มีการทดสอบแผนการศึกษาข้อมูลในการทดสอบ ตัวอย่างวัสดุอ้างอิงและการรายงานผล ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และนำประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้และต่อยอดในการเรียนต่อไป

Facebook Comments
สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ และนักศึกษาสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ ชั้นปีที่ 5 เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการศูนย์ศึกษาชีวประสิทธิผลและชีวสมมูล ณ อาคารศูนย์วิจัยวิทยาการสุขภาพ

Share:

Related Posts

ร่วมประชุมภาคีเครือข่าย
กิจกรรม สวส.

สถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ ร่วมกับ สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ประชุมภาคีเครือข่าย เพื่อเตรียมความพร้อมการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ “สาธารณสุขวิจัย ครั้งที่ 3”

Read More »
ทุุนวิจัย

บพท. ประกาศรับข้อเสนอเชิงหลักการ (Concept proposal) กรอบการวิจัย “การพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่ (Low Carbon & Livable City)” ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ “การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่” ประจำปี 2565

Read More »