ห้องปฏิบัติการจุลพยาธิวิทยา

สถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ ม.วลัยลักษณ์ คว้า 3 รางวัล การนำเสนอผลงานห้องปฏิบัติการ ในงานการประชุมวิชาการด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ประจำปี 2564

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ประจำปี 2564 ผ่านระบบออนไลน์ (ZOOM และ Facebook live) โดยงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานด้านการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยในภาคใต้ และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการของภูมิภาค ซึ่งจัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) ร่วมกับเครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคใต้ และมหาวิทยาวิทยาลัยแม่ข่ายด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ แม่ข่ายมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และแม่ข่ายมหาวิทยาลัยหาดใหญ่

ในการนี้สถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ ได้เข้าร่วมนำเสนอผลการดำเนินงานห้องปฏิบัติการเดิมที่ยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ และได้รับรางวัล จำนวน 3 รางวัล ใน 3 ห้องปฏิบัติการ ได้แก่

  • รางวัลระดับดี ประเภทโปสเตอร์ 2 รางวัล รางวัลละ 2,000 บาท ได้แก่ ห้องปฏิบัติการจุลพยาธิวิทยา  และห้องปฏิบัติการอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์
  • รางวัลชมเชย ประเภทโปสเตอร์ 1 รางวัล รางวัลละ 1,000 บาท ได้แก่ ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเซลล์และการทดสอบ

โดยห้องปฏิบัติการจุลพยาธิวิทยา จัดอยู่ในประเภทห้องปฏิบัติการวิจัย ดำเนินงานในส่วนของวิเคราะห์ทดสอบทาง เซลล์และเนื้อเยื่อวิทยา โดยเป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในเนื้อเยื่อจากอวัยวะ/ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์และสัตว์ เพื่อการวินิจฉัยหาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อร่ายกาย ดังเช่น เซลล์มะเร็งที่ต่างจากเซลล์ปกติในอวัยวะหรือเนื่อเยื่อบริเวณเดียวกัน ผลจากการใช้ยาและสารบางอย่างที่ส่งผลต่อความเสียหายในตับ และไต

ห้องปฏิบัติการอณูชีววิทยาและชีวโมเลกุล จัดอยู่ในประเภทห้องปฏิบัติการวิจัย โดยมีการดำเนินงานเกี่ยวกับการศึกษาความผิดปกติในระดับอณูชีววิทยา (DNA/RNA) ค้นหาสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ ศึกษาระดับการแสดงออกของยีน รวมถึงการพัฒนาการตรวจวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ในการวินิจฉัยโรคและป้องกันโรค

ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเซลล์และการทดสอบ เป็นห้องปฏิบัติการรองรับงานวิจัยด้านการเพาะเลี้ยงเซลล์ชนิดต่างๆ จากเซลล์มนุษย์และเซลล์สัตว์ ทั้งชนิดเป็นปกติและเซลล์จากโรคจำเพาะ เช่น Mesenchymal stem cell, เซลล์ไขกระดูก, เซลล์ไขมัน, fibroblast, muscle, thyroid tumor, lymphocyte  และ cell line ต่างๆ เพื่อใช้เซลล์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงมาทดสอบด้านต่างๆ เช่น cytotoxicity, anti-cancer activity, anti-inflammatory activity เป็นต้น

สถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาความปลอดภัยในทุกห้องปฏิบัติการ เพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัย ทั้งทางด้านสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน  ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมต่อไป

Facebook Comments
ห้องปฏิบัติการจุลพยาธิวิทยา

Share:

Related Posts

เยี่ยมชมสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (คกส.)
กิจกรรม สวส.

ผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เยี่ยมชมสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ อาคารเลี้ยงสัตว์ทดลอง ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Read More »