ประเมิน peer evaluation

ห้องปฏิบัติการจุลพยาธิวิทยา อาคารวิจัยวิทยาการสุขภาพ รับการตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการในรูปแบบ peer evaluation : phase 1

          วันที่ 8 เมษายน 2564 ห้องปฏิบัติการจุลพยาธิวิทยา อาคารวิจัยวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รับการตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการในรูปแบบ peer evaluation : phase 1 ณ ห้องโมคลาน อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.วรรณา ชูฤทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการสังคม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ พร้อมบุคลากรเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ จากศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล ในนามเลขานุการโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPRel) ตามพันธกิจของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

          สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญด้านความปลอดภัย จึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีมาตรฐานและแนวปฏิบัติต่างๆ ควบคู่กับการดำเนินงานด้านความปลอดภัย เพื่อพัฒนางานวิจัยให้ได้คุณภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดังนั้น เพื่อให้ห้องปฏิบัติการภายในประเทศได้พัฒนาระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น มหาวิทยาลัยมหิดลจึงจัดทำระบบตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการในรูปแบบการยอมรับร่วม peer evaluation โดยใช้ ESPReL Checklist เป็นเครื่องมือในการประเมินสภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการร่วมกับการตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการ โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ผลักดันให้เกิดกลไกการยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบ เพื่อมุ่งเป้าสู่วัฒนธรรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอย่างยั่งยืน และพัฒนาสู่มาตรฐานห้องปฏิบัติการวิจัยในระดับสากล

          และเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ส่งรายงานผลการประเมินห้องปฏิบัติการในรูปแบบ peer evaluation โดยห้องปฏิบัติการจุลพยาธิวิทยา  ได้รับผลการประเมิน 100 คะแนนเต็ม สามารถปฏิบัติได้ครบทั้ง 7 องค์ประกอบ ทั้งนี้ทางทีมประเมินได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาห้องปฏิบัติการให้ดียิ่งขึ้นไป และเพื่อการพัฒนาห้องปฏิบัติการอื่นๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้สถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ ได้วางแผนที่จะส่งห้องปฏิบัติการทุกห้อง ในอาคารวิจัยวิทยาการสุขภาพ เข้าร่วมประเมินความปลอดภัยในปีต่อๆ ไป 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการตรวจประเมิน 
          1. นักวิจัย : มีพื้นที่สำหรับการศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติงานวิจัยที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและระดับสากล ส่งเสริมงานตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานให้มีความสะดวกมีมาตรฐาน เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่วารสาร และแหล่งทุน
          2. มหาวิทยาลัย : เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทั้งในประเทศและต่างประเทศมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนามาตรฐานห้องปฏิบัติการความปลอดภัยอย่างเป็นรูปธรรมที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในระดับประเทศ และเที่ยบเท่าในระดับสากล
          3. ประเทศ : เสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการพัฒนาสู่มาตรฐานห้องปฏิบัติการปลอดภัยในระดับสากล อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านวิจัย วิชาการ นวัตกรรมได้ในระดับสากล

ประเมิน peer evaluation
ประเมิน peer evaluation
Facebook Comments
ประเมิน peer evaluation

Share:

Related Posts

เยี่ยมชมสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (คกส.)
กิจกรรม สวส.

ผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เยี่ยมชมสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ อาคารเลี้ยงสัตว์ทดลอง ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Read More »